-->

จอเบิร์นคืออะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





จอเบิร์นคืออะไร ?



คุณอาจจะเคยได้ยินว่ามีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่มีหน้าจอเบิร์นและมีคนแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงทำการซื้อมาใช้งานแต่คุณอาจจะสงสัยว่าอาการจอเบิร์นของโทรศัพท์มือถือนั้นคืออะไรและเป็นอย่างไรคุณสามารถที่จะนำการหลีกเลี่ยงและป้องกันปัญหาจำนวนดังกล่าวได้อย่างไรดังนั้นวันนี้เราจึงได้รวบรวมสิ่งที่คุณควรที่จะรู้เกี่ยวกับหน้าจอเบิร์นว่าพวกมันคืออะไรมีอาการเป็นอย่างไรและเราสามารถที่จะแก้ไขหรือป้องกันอาการดังกล่าวได้อย่างไร.


จอเบิร์นคืออะไร ?


อาการจอเบิร์นคืออะไร? อาการจอเบิร์นคือ อาการที่มีภาพค้างภาพซ้อนอยู่บนหน้าจอจางๆและจะติดอยู่บนหน้าจออยู่อย่างนั้นถึงแม้ว่าเราจะเปลี่ยนไปใช้งานอย่างอื่นแล้วก็ตามหน้าจอก็ยังจะแสดงผลค้างอยู่หน้านั้นเป็นรอยด่างๆอยู่บนหน้าจออยู่ตลอดเวลาซึ่งเกิดจากการปล่อยให้หน้าจอแสดงผลภาพนิ่งภาพหนึ่งนานเกินไปจนทำให้ Pixel บริเวณดังกล่าวค้างและไม่สามารถที่จะนำการแสดงสีอื่นได้เต็มที่ซึ่งสามารถที่จะพบได้ในหน้าจอ ประเภท OLED เป็นส่วนมาก โดยปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากปัญหาทางด้านฮาร์ดแวร์เป็นหลักซึ่งเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของหน้าจอของมือถือสมาร์ทโฟนมากกว่าเกิดขึ้นจากปัญหาของซอฟต์แวร์



โดยปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับหน้าจอแบบ CRT  ซึ่งเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบเก่าที่มีการใช้งานหลอดภาพในการแสดงผลเมื่อ 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมาซึ่งทำให้มีอาการคล้ายกับหน้าจอเบิร์นซึ่งจะเกิดขึ้นกับหน้าจอประเภท OLED ในปัจจุบันนี้และมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก



สาเหตุของการเกิดอาการจอเบิร์น


หน้าจอเบิร์น หรือ ภาษาอังกฤษ (burn-in) มีสาเหตุหลักมาจากการเปิดหน้าจอการทำงานหน้าจอหนึ่งค้างไว้เป็นเวลานานเกินไป โดยบางแหล่งข้อมูลบอกว่าเปิดค้างไว้เกิน 2 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้เกิดอาการจอเบิร์นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยอาการเบิร์นมักเกิดขึ้นบริเวณหน้าจอที่มีการแสดงแสงสว่างมากๆ เช่นพื้นหลังสีขาวเป็นต้น การเปิดหน้าจอดังกล่าวจะทำให้เม็ดพิกเซลบริเวณนั้นเกิดอาการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ นั่นเอง


โดยหน้าจอที่มีโอกาสเดินได้นั้นจะเป็นหน้าจอที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตซึ่งจะเป็นหน้าจอแบบ Plasma, LCD, และ OLED ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดอาการจอเบิร์นได้สูง เช่นเดียวกัน แต่อาการจอเบิร์นและในบางกรณีจะสามารถหายได้เองเพียงแค่ปิดเครื่องและทำการเปิดใหม่ซึ่งอาการจอเบิร์นดังกล่าวก็จะหายไปแต่ก็มีโอกาสที่จะกลับมาแสดงอาการดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน


เราสามารถที่จะพบอาการจอเบิร์นได้จากอุปกรณ์ใดบ้าง


ในปัจจุบันนี้มือถือสมาร์ทโฟนเรือธงหลายรุ่นกำลังประสบปัญหาพบอาการจอเบิร์น อยู่โดยเฉพาะ มือถือสมาร์ทโฟนที่ใช้หน้าจอแบบ OLED  ยาง Google Pixel 2 และ iPhone X ที่กำลังพบว่าประสบปัญหาหน้าจอเบิร์นอยู่โดยปัญหาจอเบิร์นเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มานาน แต่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่สำหรับใครหลายๆคนที่อาจจะยังไม่ทราบว่าอาการดังกล่าวนั้นเป็นปัญหา



วิธีการป้องกันการเกิดปัญหาอาการจอเบิร์นบนมือถือสมาร์ทโฟน


เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาการเกิดอาการจอบนมือถือสมาร์ทโฟนนั้นเกิดจากการที่เราทำการเปิดใช้งานหน้าจอต่างๆค้างไว้เป็นระยะเวลานานซึ่งอาจจะเป็นระยะเวลานานที่มากกว่า 2 ชั่วโมงซึ่งเป็นหน้าจอเดียวและหน้าจอแบบเดิมโดยที่ไม่มีการเปลี่ยนไปแสดงผลหน้าจออื่นๆซึ่งจะเป็นการเปิด Pixel เดียวหรือพื้นที่ในการแสดงผลเดียวซ้ำๆอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะทำให้หน้าจอแสดงผลบริเวณที่มีการแสดงแสงที่มีความเข้มมากกว่าปกติอยู่ตลอดเวลานั้นเกิดอาการค้างและพิกเซลดังกล่าวนั้นมีอาการค้างเนื่องจากว่าความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแสดงผลจนทำให้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งนั้นตัวหน้าจอจะเกิดอาการ burn หรือเกิดความเสียหายกับ Pixel ที่อยู่บนหน้าจอ ดังนั้นวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นก็คือการเปลี่ยนสลับหน้าจอให้บ่อยหรือมีการใช้งาน screen saver ซึ่งจะช่วยในการเกลี่ยหรือลดภาระในการแสดงผลพิกเซลเฉพาะจุดลงซึ่งจะช่วยลดปัญหาจอเบิร์นได้และการปิดหน้าจอในกรณีที่ไม่ใช้งานก็จะช่วยในการพักการแสดงผลของพิกเซลของหน้าจอและช่วยในการลดปัญหาหน้าจอเหมือนได้เช่นเดียวกัน


การปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสมไม่สว่างจ้าจนเกินไปนั้นก็จะสามารถที่จะช่วยในการถนอมหน้าจอของอุปกรณ์ให้ลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดอาการจอเบิร์นขึ้นได้เช่นเดียวกันโดยการปรับระดับความสว่างของหน้าจอให้มีความเหมาะสมและไม่ปรับหน้าจอให้มีความสว่างมากจนเกินไปนั้นนอกจากจะช่วยในการป้องกันอาการจอเบิร์นแล้วยังช่วยในการประหยัดแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์อีกด้วย


แต่สำหรับหน้าจอที่เบอร์เนื่องจากว่าปัญหาของฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้คุณภาพนั้นควรที่จะทำการเปลี่ยนหรือเคลมประกันจากทางผู้ผลิตทันทีที่ตรวจพบอาการดังกล่าวซึ่งตัวอุปกรณ์บางชิ้นนั้นมีการประกอบที่ไม่ได้มาตรฐานหรือหลุดการตรวจสอบในขั้นตอนการผลิตคุณสามารถที่จะทำการเคลมจากผู้ผลิตได้ถ้าอยู่ในระยะการรับประกันและถ้าคุณพบอาการดังกล่าวและตัวเครื่องอยู่ในการรับประกันนั้นเราแนะนำให้คุณรีบทำการนำเอาตัวอุปกรณ์ไปเคลมให้เร็วที่สุดเพราะโอกาสที่ตัวหน้าจอจะกลับมาเบิร์นหรือมีอาการเบิร์นจนไม่สามารถที่จะใช้งานได้นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงนั่นเอง


สรุปการป้องกันหน้าจอเบอร์นั้นคุณสามารถที่จะทำการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ด้วยวิธีง่ายๆเพียงแค่ตั้งระดับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสมไม่เปิดหน้าจอค้างทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานและมีการใช้งาน screen saver รวมถึงปิดหน้าจอในกรณีที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้งานเพียงเท่านี้หน้าจอของคุณก็จะปลอดภัยจากอาการดังกล่าวได้


Sources : https://en.wikipedia.org/wiki/Screen_burn-in