-->

กรวดน้ำคว่ำกะลา หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





กรวดน้ำคว่ำกะลา หมายถึงอะไร ?



กรวดน้ำคว่ำกะลา หมายถึงอะไร ? สำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า กรวดน้ำคว่ำกะลา นั้นหมายถึง  (สำ) ก. ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
สำนวน กรวดน้ำคว่ำกะลา ใช้ในการเปรียบเปรยถึง การขอตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วยกับคนบางคน ไม่ขอรับรู้หรือ รับฟังว่าคนนั้นจะทำอะไร ไม่สนใจ ตัดขาดออกจากชีวิต โดยมีความหมายเดียวกันกับสำนวน กรวดน้ำคว่ำขัน ที่หมายถึง  (สำ) ก. ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย. เช่นเดียวกัน

ที่มาของสำนวน ความเชื่อของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณนั้น การ “กรวดน้ำ” แก่เจ้ากรรมนายเวร คือตัดขาดจากกัน อย่าได้จองเวรจองกรรมกันอีกต่อไปเลย การทำกุศลแบบ กรวดน้ำคว่ำขัน ให้สิ้นสุดเวร สิ้นสุดกรรม กับคนที่เคยเบียดเบียนกับเรา และกำลังเบียดเบียนเราอยู่ ให้หมดเวรหมดกรรมจากกันไป ด้วยการใช้มือขวาจับภาชนะที่เทน้ำแล้วเริ่มเทน้ำลงไป โดยเริ่มกรวดน้ำขณะที่พระท่านขึ้นต้นบทสวดว่า “ยะถา วะริวะหาปูรา...” โดยเทน้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ให้ขาดสาย ขณะที่เทน้ำนั้นก็ให้ตั้งจิตอุทิศบุญที่ทำนั้นส่งให้ผู้ที่ต้องการจะให้โดยไม่ต้องกังวลถึงสิ่งใด ระวังอย่าให้จิตส่ายและไม่ต้องกลัวว่าพระจะสวดจบบทกรวดน้ำเสียก่อน.

  • กรวดน้ำ หมายถึง ก. แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งนํ้า.
  • คว่ำ หมายถึง (๑)  [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ
  • กะลา หมายถึง น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย

ตัวอย่างการใช้งานสำนวน กรวดน้ำคว่ำกะลา ในประโยค

1. "กรวดน้ำคว่ำกะลา" เป็นสำนวนไทย หมายถึง การตัดขาดความสัมพันธ์ ไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย ไม่คบค้าสมาคมกันอีกต่อไป อย่าได้มาเจอกันอีก ส่วนพิธีกรรมนั้น โดยปกติการกรวดน้ำจะเทน้ำจากกะลา (ถ้าใส่ขัน) จนน้ำหมด ซึ่งขันจะอยู่ในลักษณะแค่ตะแคงโดยเอาก้นขันตั้งฉากกับพื้นโลกเท่านั้น เทเพียงเท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ต้องถึงกับคว่ำขันเอาปากขันทิ่มลงดิน เขาจึงใช้กริยาการคว่ำขันเป็นการประชด เหมือนการตัดขาดขนาดน้ำก็จะไม่ให้เหลือสักหยดติดขัน
2. เราคงคุ้นชินกับสำนวนไทยที่ว่า “กรวดน้ำคว่ำขัน” ทากแต่สํานวนไทยนี้ มีหลายคนได้นำมาปฏิบัติ เป็นไปในลักษณะของการตัดขาดจากสายสัมพันธ์ ...
3. สุนทรภู่ปฏิบัติ “ราชการลับ” ในนิราศเมืองแกลง “จะ กรวดน้ำคว่ำกะลา” จนวันตาย แม้เจ้านายท่านใช้แล้วไม่มา”.
4. ที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร หลังจากกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา โพสต์เชิญชวนประชาชนทำกิจกรรม 'กรวดน้ำ คว่ำกะลา ร่างรัฐธรรมนูญ
5. กรวดน้ำคว่ำกะลา หมายถึง : ตัดขาดไม่เหลือเยื่อใย ไม่เกี่ยวข้อง ขอกรวดน้ำ คว่ำขัน กันชาตินี้ ขอตัดขาด ไมตรี เคยมีให้ ความสัมพันธ์ เราสอง ต้องจบไป ...
6. เมื่อวานนี้ นายศิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว แกนนำกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา จัดกิจกรรมกรวดน้ำคว่ำกะลา ร่างรัฐธรรมนูญ แสดงเจตนารมณ์โหวตไม่รับรองร่าง รธน.
7. "กรวดน้ำคว่ำขัน" และ "กรวดน้ำคว่ำกะลา" เป็นสำนวนที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ตัดขาดไม่คบหาสมาคมกันต่อไป สำนวนทั้ง ๒ นี้มีที่มาจากการกรวดน้ำ แต่เป็นการกรวดน้ำโดยคว่ำภาชนะที่ใช้ กรวดน้ำคว่ำขัน และกรวดน้ำคว่ำกะลา จึงมีความหมายว่า เลิก หรือ ตัดขาด"
8. กรวดน้ำคว่ำขัน  หรือกรวดน้ำคว่ำทะนน  หรือกรวดน้ำคว่ำกะลา  ความหมายคืออะไร  เป็นสำนวนไทยค่ะ  หมายความว่าตัดขาดเลิกคบหาสมาคม
9. ทำไมต้องคว่ำขัน  ถือเป็นกิริยา ทำให้จบให้สิ้น   ให้ความสัมพันธ์ขาดกันไปเหมือนสายน้ำ (อาศัยอาการเทให้หมด  ให้มันหมดสิ้นกันไป) คล้ายคลึงแต่แตกตางจากสำนวนคว่ำบาตรที่แปลอย่างเดียวกัน เพราะกิริยาที่พระท่านคว่ำบาตรหรือปิดฝาบาตรเสีย  คือไม่ยอมรับบาตรจากญาติโยมอีก