-->

หัวมังกุท้ายมังกร หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





หัวมังกุท้ายมังกร หมายถึงอะไร ?



หัวมังกุท้ายมังกร หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า หัวมังกุท้ายมังกร นั้นหมายถึง  (สำ) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลายอย่างปนกัน. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔

สำนวน หัวมังกุท้ายมังกรนั้น ใช้ในการเปรียบเปรยถึงความไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน จะดูแบบขัดๆ หรือดูอย่างไรก็ไม่เข้ากัน

ที่มาของสำนวนนี้ “ขุนวิจิตรมาตรา” หรือ “กาญจนาคพันธุ์” ได้เขียนไว้ในหนังสือสำนวนไทย ภาค ๒ ห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมสาส์น วังบูรพา เป็นผู้พิมพ์จำหน่าย ท่านอธิบายไว้ว่า “หัวมังกุท้ายมังกร หมายความว่า ไม่เข้ากัน ขัดกันในตัว ทรวดทรงเรือนร่างต่างลักษณะไม่กลมกลืนกันตามที่ควรเป็น ฯลฯ คำว่า “มังกุ” ได้พบหนังสือเก่าแปลว่า “เรือต่อ” ชนิดหนึ่งเป็นรูปยาว กับแปลว่าเป็นชื่อสัตว์นิยายชนิดหนึ่ง ไม่บอกว่ารูปร่างอย่างไร สันนิษฐานตามนี้ ทำให้เข้าใจว่าเรือมังกุนั้นคงจะมีหัวเป็นรูปสัตว์ ดังในเห่เรือว่า “นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร” สมัยโบราณคงจะมีเรือชนิดหนึ่ง หัวเรือทำเป็นรูปสัตว์ที่เรียก “มังกุ” แต่ท้ายเรือทำเป็นรูปอย่างมังกร รูปร่างลักษณะเรือคงจะดูแปลก จึงได้เรียก “หัวมังกุท้ายมังกร” ต่อมาคำ “หัวมังกุท้ายมังกร” เลยกลายเป็นสำนวนหมายถึงอะไรที่ในตัวมีลักษณะต่างกัน ไม่เป็นไปตามที่ควรเป็น คือ เข้ากันไม่ได้ ขัดกัน ขืนกัน ไม่กลมกลืนกัน…”

  ฉะนั้น  สำนวนที่ถูกจึงควรจะพูดว่า “หัวมังกุท้ายมังกร” เพราะทั้ง “มังกุ” และ “มังกร” ต่างก็เป็นสัตว์ในนิยายเหมือนกัน แต่เป็นคนละชนิดกัน เมื่อมาอยู่รวมกันจึงทำให้ไม่กลมกลืนกัน เข้ากันไม่ได้ หากพูดว่า “หัวมงกุฎท้ายมังกร” ก็จะเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าสำนวนนี้ใช้ในความหมายว่า ไม่เข้ากัน เหมือนอย่างมังกรสวมมงกุฎ ทำให้ความหมายเพี้ยนไปจากที่มาเดิม


  • หัว หมายถึง น. ส่วนบนสุดของร่างกายของคนหรือสัตว์
  • มังกุ หมายถึง น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.
  • ท้าย หมายถึง น. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ, ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.
  • มังกร หมายถึง (๑) น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา

ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า หัวมังกุท้ายมังกร

1. ผัดกะเพราที่ใส่ไข่มุกมันช่างดูหัวมังกุท้ายมังกร เสียจริง..
2. ในปีนี้เมื่อสามพี่น้องมาพบกันก็ปรึกษากันจะสร้างบ้านให้พ่อแม่ใหม่ ลูกคนโตเลือกแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ขนาดปานกลาง คนที่ 2 เลือกซื้อเครื่องใช้ตกแต่งบ้านแบบยุโรป ส่วนลูกคนที่3 เลือกตกแต่งบริเวณบ้านด้วยสวนแบบญี่ปุ่น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้ว สามพี่น้องก็ให้บิดามารดาไปชมบ้านก่อน นายชุบกับนางจิตปลื้มใจที่ลูกๆมีแก่ใจจัดหาบ้านดีๆให้อยู่ ครั้นเห็นบ้านแล้วรู้สึกอึดอัดใจทั้งคู่ไม่อยากย้ายบ้านแต่เกรงว่าลูกๆจะเสียน้ำใจจึงพูดกับลูกว่า"พ่อว่าบ้านนี้ดีนะ แตพ่อชอบแบบไทยแท้อะไรที่หัวมังกุท้ายมังกรอย่างบ้านนี้ ทนไม่ได้หรอก" พอได้ยินเหตุผลของบิดาแล้ว ลูกทั้งสามจึงลืมคำนึงถึงความเหมาะสมกลมกลืนกันไป ในที่สุดลูกทั้งสามจึงซอมแซมบ้านเก่าที่คงเอกลักษณ์ของเดิมไว้ให้พ่อแม่ "หัวมังกุท้ายมังกร"เป็นคำเปรียบเทียบสิ่งที่ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน มีหลายอย่างปนเปกันจนหมดงาม
3. กระทรวงศธ.-หัวมังกุท้ายมังกร. เรียน บรรณาธิการน.ส.พ.ข่าวสด. ผมขอเรียนว่าปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการบริหารงานแบบหัวมังกุท้ายมังกร ไม่สอดคล้องต้องกัน
4. สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงสิ่งของที่ไม่เข้ากันเลย หัวมังกุท้ายมังกร ส่วนหัวเหมือนบางอย่าง ส่วนท้ายก็เหมือนอีกอย่าง ดูแล้วไม่เข้ากัน.
5. ชาวไทยได้ขนานนามของพระที่นั่งองค์นี้ด้วยสำนวน "หัวมังกุท้ายมังกร" พระที่นั่งนี้คือ "พระที่จักรีมหาปราสาท".
6. เลียนแบบท่านองคมนตรีดาว์พงษ์ เอาไว้ซักเล็กน้อย) คือไอ้ ดิเลมมา หรือความเป็นหัวมังกุท้ายมังกร หรืออาการคล้ายๆ อยู่ระหว่างเขาควายทำนองนั้น น่าจะพอเห็นได้
7. ผู้ช่วยอธิการบดีมหาจุฬาฯสวนทันควันอย่าเป็นปลวกแทะพระไตรปิฎก ขืนทำมีหวังเพี้ยนไปกันหมดโดยเฉพาะกรณี "นิพพาน" มีตัวตน ระบุทุกวันเป็นพวกหัวมังกุท้ายมังกรอยู่แล้ว "ส.

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา