-->

คางคกขึ้นวอ หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





คางคกขึ้นวอ หมายถึงอะไร ?



คางคกขึ้นวอ หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “อย่าทำตัวเป็นคางคกขึ้นวอ” หรือ คางคกขึ้นวอ แมลงปอใส่ตุ้งติ้ง หมายถึง  (สำ) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔

สำนวน คางคกขึ้นวอมักใช้เปรียบเทียบคนที่มีนิสัยชอบลืมตัว เมื่อได้ดิบได้ดี มียศศักดิ์เป็นเจ้านายเพราะตำแหน่ง กลับวางตัวไม่น่าคบพอได้ดีแล้วก็ลืมตัว เย่อหยิ่ง เชิดหัว ชูหัว ไม่มองใคร ไม่ให้เกียร์ติใคร เหมือนคางคกขึ้นวอ ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น คนแบบนี้คบไม่ได้ และไม่สมควรที่จะคบหามาเป็นมิตร เพราะว่ามักจะดูถูกผู้อื่นอยู่เป็นประจำ จนทำให้คนรอบข้างรู้สึกรำคาญ และรังเกียจ.


  • คางคก หมายถึง น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) .
  • ขึ้น หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือเบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง
  • วอ หมายถึง น. ยานที่มีลักษณะเป็นรูปเรือนหลังคาทรงจั่ว สำหรับเจ้านายหรือข้าราชการฝ่ายในนั่ง มีคานรับอยู่ข้างใต้คู่หนึ่ง ใช้คนหาม, เรียกรถยนต์ที่มีวอสำหรับเชิญศพตั้งอยู่บนกระบะรถ ว่า รถวอ.

ถือกันว่า คนที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ไม่เป็นที่นิยมของสังคม ตรงกันข้าม คนที่อ่อนน้อมถ่อมตน คนที่ขี้อาย คนที่ไม่กล้าแสดงตน มักถือกันว่า เป็นคนดี คนสุภาพ เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนดีจึงมักหลบอยู่ข้างหลัง ไม่กล้าแสดงตน ไม่กล้าอวดตน ปัจจุบันคงต้องมีการสั่งสอนหรืออบรมให้เยาวชนมีความกล้า กล้าแสดง กล้าอวด แต่ต้องกล้าในทางที่ถูก กล้าในทางที่ไม่เป็นภัยแก่ตน กล้าแสดงความเป็นตัวของตน แต่ต้องมิใช่กล้าจนเกินขอบเขตของความพอดี และความงามตามวัฒนธรรมไทยด้วย
ที่มาของสำนวน คางคกขึ้นวอน่าจะมาจาก เป็นการเปรียบเทียบกริยาของคนที่พอได้ดีมักแสดงกริยาอวดดีลืมตัวกับคางคก ที่ลักษณะประจำของคางคกมักจะเชิดหัวชูคางเวลาที่เกิดอะไรขึ้นกับมัน โดยมีเรื่องเล่าว่า

คางคกตัวหนึ่งได้ตามเสด็จพระราชาโดยพระองค์ทรงเมตตาให้นั่งบนวอพระที่นั่งด้วย ครั้นเมื่อคางคกกลับมายังหมู่บ้านของตน คางคกก็ยังเชิดหัวชูคอทำท่าเหมือนยังนั่งอยู่บนวอของพระราชา.

ตัวอย่างการใช้งาน สำนวนไทยที่กล่าวว่า คางคกขึ้นวอ ในประโยค

1. ดาราคนนี้ถูกมองว่าเป็นคางคกขึ้นวอ เมื่อก่อนเคยอยู่ในสลัม พอมาเป็นดาราดัง ได้ดีแล้วท่าทีก็เปลี่ยนไป ทำตัวเรื่องมาก ดูถูกคนอื่นเสมอๆ
2. การทำตัวเป็น คางคกขึ้นวอ ของคนที่เคยมีฐานะยากจน ต่ำต้อย พอได้ดี แล้วก็ไม่คบใคร ไม่เห็นแก่หน้าใคร บางคนก็มีเหตุผลที่ ทำแบบนั้น เช่น เมื่อก่อนยากจน ก็โดนคนอื่นดูถูก ดูแคลน หรือกว่าจะตั้งตัวจนร่ำรวยได้นั้น ต้องทำงานอย่างหนัก ดังนั้นเมื่อตั้งตัว ได้มีฐานะดี จึงทำตัวเย่อหยิ่ง ไม่คบใคร.
3. ดีเจพุฒิ พุฒิชัย งานเข้า! โดนแฉพฤติกรรมคางคกขึ้นวอ หลังพูดจาดูถูกตัวประกอบกลางกองถ่าย งานเข้าไปเต็มสำหรับพระเอกสุดฮอตอย่าง พุฒิ พุฒิชัย เกษตรสิน.
4. คนที่เหมือนข้าวเต็มรวง อยู่ที่ไหน ไม่ว่า ยืนหรือเดินหรือนั่ง ก็ล้วนงดงามน่าเลื่อมใส ใครที่ยังมีพฤติกรรมเป็นคางคกขึ้นวอ หรือกิ้งก่าได้ทอง ควรจะดูแบบอย่างนี้ไว้.
5. นางสาวเดียร์เดิมเป็นคนยากจนมาก ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง อยู่มาวันหนึ่งโชคดีได้สามีรวย ตนเองเลยรอดพ้นจากความยากจนมาได้ แต่แทนที่จะเอาความยากจนในอดีตมาเป็นบทเรียน กลับหลงระเริงกับทรัพย์สินเงินทองที่มี อวดร่ำอวดรวย ลืมกำพืดอันยากจนของตนเองเสียหมดสิ้น.
6. คางคกขึ้นวอ น. คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดี ลืมตัว . นั่งชูคอล้อลมสมสง่า ด้วยเชิดหน้าท่าทีดีไฉน สำนึกดั่งสั่งแถนทั่วแดนไตร.
7. คางคกขึ้นวอ ! บนโลกแห่งความเป็นจริงนี้มีทั้งหลุมพลางและสิ่งที่น่ากลัวมากมาย สำหรับบางคนที่มีพรวิเศษจากสวรรค์ที่มอบให้.

อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔