-->

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึงอะไร ?



ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึงอะไร ? สำนวน คำพังเพยที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก นั้น หมายถึง (สำ) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่. อ้างอิงตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ การอบรมสั่งสอนเด็กหรือคนอายุน้อย ย่อมง่ายกว่าการสั่งสอนอบรมคนที่มีอายุมากแล้ว โบราณท่านจึงเปรียบเทียบไว้กับไม้ ซึ่งไม้ที่อ่อน มีอายุน้อยย่อมดัดและเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ง่ายกว่าไม้แก่หรืออายุมาก 

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึง เด็กมีนิสัยที่ง่ายต่อการอบรมสั่งสอน ส่วนคนโตมักจะเป็นคนหัวดื้อยากแก่การอบรมสั่งสอนการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี ผู้ปกครองจึงต้องเน้นในวัยเด็ก เพราะวัยเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว พร้อมที่จะรับสีทุกสีที่นำมาย้อม ผู้หวังความเจริญแก่บุตรพึงอบรมตามหลักธรรมะ
สำนวน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ใช้ในเชิงเปรียบเทียบการฝึกอบรมบ่มนิสัยนั้นกับการดัดไม้เพื่อทำบอนไซไม้ดัด การที่จะดัดต้นไม้ให้เป็นรูปทรงต่างๆนั้นนิยมทำในช่วงที่ต้นไม้นั้นเป็นต้นเล็ก ๆอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถดัดได้ง่ายกว่า  เพราะว่ากิ่ง ก้านนั้นมีขนาดเล็กมีความยืดหยุ่นง่าย ไม่แตกหักเมื่อจะทำการดัด แต่ถ้าไปดัดในตอนที่ต้นไม้นั้นโตหรือแก่เกินที่จะสามารถทำการดัดได้ เนื่องจากว่ากิ่งของไม้แก่นั้นจะมีความแข็ง ดัดได้ยากและมักแตกหรือหักระหว่างดัดจึงไม่มีความนิยมที่จะดัดไม้ที่มีอายุมากดังกล่าว เปรียบเทียบได้กับการดัดนิสัยของคนนั้นต้องดัดตั้งแต่ยังเล็ก ๆนั่นเอง


  • ไม้ หมายถึง น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้
  • อ่อน หมายถึง ว. ไม่แก่ เช่น มะพร้าวอ่อน
  • ดัด หมายถึง ว. ที่ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
  • ง่าย  หมายถึง ว. สะดวก, ไม่ยาก.
  • แก่ หมายถึง ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน
  • ยาก หมายถึง น. ความลำบาก.

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ภาษาอังกฤษ

สำนวนไทยดังกล่าวข้างต้นมีความหมายตรงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า “You can't teach an old dog new tricks.” ที่แปลว่า  “คุณไม่สามารถสอนเทคนิคใหม่ให้แก่หมาตัวเก่าได้” ซึ่งมีความหมายเทียบเคียงได้กับสำนวนไทยที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก นั่นเอง


ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทย ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก


  1. คำโบราณ "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก". แม้ในสมัยนี้ก็ยังเป็นความจริง ผู้เขียนไม่อายที่จะบอกว่า "โตมากับไม้เรียว" ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน เวลาทำผิด มักจะถูกลงโทษเสมอ
  2. ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก คำคำนี้ พวกเราคงเคยได้ยิน มานานแล้ว ที่ญี่ปุ่น ทำการปลูกผังสิ่งต่างๆ กันตั้งแต่เด็ก ๆ
  3. ขนส่งยะลา จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน โครงการสนามจราจรเยาวชน ควรที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ในขณะที่ยังเป็นเด็กและเยาวชนอย่างคำที่ว่าไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก.
  4. รากฐานของมนุษย์ อยากให้ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคม มีคุณลักษณะหรือมีความสามารถอย่างไร ต้องปลูกฝังตั้งแต่เล็กๆ เหมือนที่เขาว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ..
  5. แย่มาก สน.นี้ ไม่รู้ว่ามีการอบรมเรืองมารยาญการเข้าสังคมหรือเปล่า การพูดจาก็มี แต่ขึ้นเสียงบ่นไปก็เท่านั้นเพราะคนแก่ทำงาน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ..
  6. ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก สำนวนสุภาษิตนี้ยังเป็นจริงเสมอ การปลูกฝังให้เด็กอนุรักษ์ธรรมชาติจะทำให้เค้าเข้าใจได้มากกว่า หากเราปลูกฝังด้วยความรัก
  7. “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” เป็นสำนวนที่ยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน การอบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีย่อมง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรม
  8. “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ฉันใด “การฝึกนิสัยทางการเงินที่ดี ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ยังเด็ก” ฉันนั้น จากผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่าในวัย 7 ขวบ นิสัยการใช้เงินของเด็กจะถูกหล่อหลอมเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ในช่วงอายุ 3-6 ปีเป็นเวลาสำคัญที่จะพัฒนาทักษะบริหารจัดการเงิน ดังนั้น จึงควรสอนการใช้เงินให้เด็กตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งเร็วยิ่งดี
  9. นอกลู่นอกทาง ถ้าลูกไม่เชื่อฟังต้องลงโทษ เฆี่ยนตีเพื่ออบรมสั่งสอนตั้งแต่เด็ก โดยมีความเชื่อตามคำโบราณว่าไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ต้องทำโทษหลาบจำ