-->

ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึงอะไร ?



ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่ว่า ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ  คำอ่านภาษาไทย: ปฺล่อย-เสือ-เข้า-ป่า ปฺล่อย-ปลา-ลง-น้ำ. หมายถึง  (สำ) ก. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก, มักใช้เข้าคู่กับ ปล่อยปลาลงนํ้า เป็น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงนํ้า. 
สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า การปล่อยให้บุคคลสำคัญ หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แหล่งเดิมของมัน เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาต้องอยู่ในน้ำ เมื่อมันกลับสู่บ้านตามธรรมชาติของมันแล้ว กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง


บางทีก็ใช้ว่า ปล่อยลูกนกลูกกา ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก หรือปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ

  • ปล่อย หมายถึง [ปฺล่อย] ก. ทำให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก
  • เสือ หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Felidae รูปร่างลักษณะคล้ายแมวแต่ตัวโตกว่ามาก เป็นสัตว์กินเนื้อ นิสัยค่อนข้างดุร้าย หากินเวลากลางคืน มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง [Panthera tigris (Linn.)] เสือดาวหรือเสือดำ [P. pardus (Linn.)], โดยปริยายใช้เรียกคนเก่งคนดุร้าย
  • เข้าป่า  หมายถึง น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า
  • ปลา หมายถึง น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
  • ลง หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ
  • น้ำ หมายถึง น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม

ตัวอย่างการใช้สำนวนไทย ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ


  1. ตำรวจไม่ตามจับผู้ต้องหา มารับโทษก็เท่ากับการ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ สักวันก็ก่อเหตุแบบนี้อีก
  2. ผู้กระทำความผิดสมควรได้รับโทษทางกฎหมาย เพื่อที่จะให้เข็ดหลาบและเกรงกลัวในการทำผิด การปล่อยปละละเลย ไม่จัดการอะไรสักอย่าง ก็เหมือน ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
  3. นักเรียนที่แต่งกายไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าครูฝ่ายปกครองไม่ออกมาตักเตือน หรือลงโทษก็เหมือนกับ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
  4. ในการรบครานี้ หากเราไม่กำจัดศัตรูเสียให้สิ้น เราก็เหมือนกับการ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ สักวันอาจจะกลับมารบกับเราอีกเป็นแน่
  5. ปล่อยเสือเข้าถ้ำ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ อุปมาอุปไมยปล่อยตัวศัตรูไปจะมีภัยพิบัติตามมามิรู้สิ้น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ.
  6. การอภัยเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้โอกาสปล่อยนักโทษที่เคยกระทำความผิด กลับสู่สังคมก็เหมือนการปล่อยเสือเข้าป่า เพราะไม่รู้ว่านักโทษได้สำนึกความผิดที่เคยทำมาหรือไม่
  7. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขา ภายใต้โครงการ “ปั่น ปลูก เพื่อธรรมชาติ ตอนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 กันยายน
  8. ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง. สำนวนนี้บางทีกล่าวต่อไปว่า “ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ”. สำนวนนี้มีความหมายคล้ายกับ “ปล่อยปลาไหลลงตม”.
  9. “จักรทิพย์” โผล่ทำเนียบฯ รายงาน “ป้อม” อ้ำอึ้งพรหมเมธีได้ลี้ภัยเยอรมนี ก็ดันเชื่อใจลูกน้อง ไม่เข้มงวดกวดขัน ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ.
  10. “ก็ยิ่งดี ถือว่าปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำเอาบุญ ถ้ามันได้กลับไปเสวยสุขกับไอ้ภาสกรก็ควรจะสำนึกบุญคุณฉัน” หญิงเล็กยิ้มพราย พอใจที่ตัวเองเป็นฝ่ายได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง.
  11. สมควร ผาบัว ผู้เป็นน้องคนเล็กนี้ หลังจากถูกเกณฑ์ทหาร 2 ปี ก็เหมือนกับปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ เหมือนกับนกพอได้บินออกจากรัง
  12. เธอคงยังไม่ลืมใช่ไหมว่าเขายังไม่ได้หย่าให้ และก็ไม่มีวันที่จะหย่าให้ด้วย เพราะนั่นมันเหมือนกับว่าเขาปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ ...


อ้างอิง

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา