-->

เถรตรง หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





เถรตรง หมายถึงอะไร ?



เถรตรง หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตที่กล่าวว่า "เถรตรง"  นั้นหมายถึง  (สำ) ว. ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔




สำนวน เถรตรง ใช้ในการเปรียบเปรยถึง คนที่ ซื่อหรือตรงจนเกินไป, คนที่ไม่มีไหวพริบ ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ใช้ในการสื่อถึงในแง่ลบ

ที่มาของสำนวน เถรตรง นั้นมาจากเรื่องเล่าที่บอกว่า มีเถรคนหนึ่งภาวนาตั้งจิตว่าจะเดินเป็นทางตรงเท่านั้นโดยไม่ยอมเดินอ้อมสิ่งใด เมื่อเจอสิ่งที่ขวางหน้าก็จะปีนขึ้นไป แล้วไต่ลงมาโดยที่ไม่ยอมหลบเมื่อเดินมาสักพักก็เจอกับต้นตาลจึงได้ทำการปีนต้นตาลเพื่อที่จะเดินข้ามไป พอปีนถึงต้นตาลก็เริ่มกลัวความสูงจึงร้องขอความช่วยเหลือจากคนที่ผ่านมาพอดีว่ามีคนหัวล้านสี่คนเดินผ่านมาจึงได้ขอให้ช่วย โดยให้คนหัวล้านทั้งสี่คนจับผ้าขาวม้าทีละมุมแล้วดึงให้ตึง ส่วนตาเถรนั้นจะกระโดดลงไปพอทำเสร็จตาเถรก็ได้กระโดดลงไป แล้วด้วยน้ำหนักที่มากจึงทำให้ตาเถรตกลงกระแทกพื้นจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนชายหัวล้านทั้งสี่คนที่มาช่วยนั้นก็หัวกระแทกกันจนหัวแตกบาดเจ็บกันไป นิทานเรื่องนี้สอนว่า ความซื่อหรือตรงจนเกินไป ไม่รู้จักผ่อนปรนทำให้เรื่องไม่เป็นเรื่องกลายเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตขึ้นมาได้

ตัวอย่างการใช้งานสำนวน เถรตรง ในประโยค

1. พราะคุณทำงานแบบเถรตรงจนเกินไป ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฏขั้นตอนที่วางไว้ตามนั้น ไม่มีการผ่อนปรน จนทำให้หลายๆคน ไม่พอใจ
2. นายตำรวจคนนี้เป็นคนเถรตรง เคร่งครัด ยึดมั่นในกฎระเบียบและความซื่อสัตย์ จนชาวบ้านละแวกนั้นเกรงกลัวไม่มีใครกล้าทำผิด
3. เพราะคุณ เถรตรง กับลูกน้องมากเกินไป ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ถึงต้องคอยเปลี่ยนลูกทีมอยู่บ่อย ๆ; การเป็นตำรวจนั้นจำเป็นที่จะต้อง เถรตรง กันบ้าง เพราะหากไม่ยึดมั่นในระเบียบวินัย.
4. คนส่วนมากที่เลิกไม่ได้ เถรตรงเกินไปก็ทำให้คนอื่นผิดหวัง ส่วนคนที่เลิกได้จะรู้จักโกหกให้เกิดประโยชน์และเปลี่ยนโอกาสให้กลายเป็นผลตอบแทนนั่นเองค่ะ.
5. การรักษาโรคในคนไข้ ไม่ใช่เถรตรงเป๊ะอย่างเดียว จนกระทั่งท่องทั้งชื่อการวิจัยและท่องคำแนะนำในรายงานการศึกษา ...
6. คิดว่าคนที่ทีนิสัยเถรตรงหรือตรงไปตรงมานี่ มันมีปมด้อยอะไรที่ทำให้เป็นคนนิสัยแบบนี้ครับ.
7. ความเถรตรงในเรื่องเล็กๆ เหล่านี้คงเป็นเรื่องขำๆ ธรรมดา แต่อาจเป็นเรื่องเสียหายได้หากถูกนำไปใช้ในเชิงลบ โดยเฉพาะคนไทยที่ชอบเลี่ยงบาลี ประเภทเมื่อรีบร้อน .
8. ฉันไม่ใช่พวกประเภทร้องขอความรัก การครํ่าครวญเพื่อร้องขอไม่ใช่ศาสนาของฉัน ฉันรักและเลิกรัก ฉันให้และริบคืน ง่ายและเถรตรงเช่นนั้น
9. ตั้งแต่ปี 2505 เราไม่มีใครพลาดทั้งสิ้น เราเพียง “ตีความ” อย่างเถรตรงเกินไป ไม่ได้ตีความอย่างคลี่คลายปัญหา ปัญหาของเราไม่ใช่อยู่ที่ตัวปัญหา แต่อยู่ที่ “วิธีการ”
10. คุณลักษณะของความเถรตรงและตรรกะเชิงปฏิบัติและการทุ่มเทอย่างไม่อ่อนกำลังต่อหน้าที่ทำให้นักคำนวณเป็นหลักกำลังสำคัญในหลายครอบครัว
11. “คนเถรตรง” มิบังอาจสอนหนังสือ สังฆราช แค่อยากให้ผู้มีอำานาจใช้โอกาสนี้ คิด ตรึกตรองหาทางออกที่ดีที่สุด ละมุนละม่อม ที่สุด เพื่อแก้ไขสถานการณ์
12. องค์กรอิสระ ไปจนแม้แต่หน่วยงานยุติธรรม เพื่อให้ตนไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการศาล เหมือนตาเถรตรงคนนี้ถ้าไม่เหลาซิก ก็แกล้งโง่ หรือไม่อีกทีก็ "บ้าตำรา" เถรตรง.
13. ข้อร้ายคือคนไม่ชอบหน้า ซึ่งเป็นความจริงอย่างยิ่ง บางคนอาจจะเป็นคนเถรตรงเสียจนคนอื่นกลัว บางคนอาจเผลอพูดไม่คิดจนทำให้หลายคนไม่พอใจ .
14. ผลวิจัยป.ป.ช.ยำเละ พฤติกรรมตร. ซ้อมผู้ต้องหา-เป่าคดี-เรียกเงิน ลูกน้องชอบนายใจถึง ไม่ต้องเถรตรง.
15. ผอ.ดุทุบหลังเด็กป.5 ด้านผอ.แฉกลับ ชาวบ้านไม่ชอบตน เพราะเป็นคนเถรตรง.
16. กฎหมายจึงมีคอนเซปต์ของ “วิญญูชน” เวลาที่ศาลพิจารณา จะไม่ได้เถรตรงตามพจนานุกรมเสมอ แต่จะคำนึงถึงเจตนารมณ์ของตัวอักษรนั้นว่าต้องการอะไร.
17. เด็กชายผู้เถรตรงคนนี้เป็นอีกหนึ่งเพื่อนร่วมชั้นของมิโดริยะและเป็นหัวหน้าห้อง1-A อีดะอาจจะเป็นคนที่ดูน่ากลัว.
18. หลังก่อเหตุจนทำให้รถเลื่อนของซานต้าพังเสียหายแบบไม่ตั้งใจ สองศรีพี่น้องจึงต้องทำภารกิจข้ามคืนเพื่อกอบกู้เทศกาลคริสต์มาสร่วมกับเซนต์นิโคลัสผู้รอบรู้และเถรตรง.
19. นายตำรวจมาดเท่ เถรตรง รักความถูกต้องและยึดมั่นในกฎเกณฑ์ ตะวันฉายเป็นตำรวจเพราะต้องการใช้กฎหมายมาเอาผิด.
20. ไม่ว้าวุ่นเป็นเถรตรง. ทำงานโดยยึดเป้าหมายและผลงาน ไม่ยึดติดกฎระเบียบจนเกินไป แต่รู้จักคิดปรับยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสถานการณ์
21. สาวผู้เถรตรงคนนี้ยอมทำทุกอย่างเพื่อตามหาความจริงในทุกคดี.
22. รัฐราชการไทยใช้อำนาจตามกฎระเบียบอย่างเถรตรง หรือล้นเกินไว้ก่อน โดยไม่ใช้วิจารณญาณถึงเหตุผล เช่น คำสั่งห้ามตั้งวงกินเหล้าไม่ต้องการให้คน "มั่วสุม".

อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔