-->

บนบานศาลกล่าว หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





บนบานศาลกล่าว หมายถึงอะไร ?



บนบานศาลกล่าว หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า บนบานศาลกล่าว นั้นหมายถึง  (สำ) ก. ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔




สำนวน บนบานศาลกล่าว ใช้ในการปรียบเปรยถึง การขอร้องให้ ศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ด้วยการบอกว่า จะให้สิ่งต่างๆ หากสิ่งที่บนบานหรือขอไว้สำเร็จ

ที่มาของสำนวน บนบานศาลกล่าว  แนวคิดของการบนบานศาลกล่าวนั้นมีตำนานการพัฒนาการมาจากวิถีชีวิตของชาวอินเดียแต่โบราณโดยการที่มีความเชื่อพิธีบูชายัญซึ่งใช้ชีวิตสัตว์เป็น ฆ่าเพื่อบูชาเทพเจ้าต่างจากการบนบานบวงสรวงที่ไม่ได้ใช้ชีวิตสัตว์เป็นๆเป็นลักษณะทำพลีกรรมคือการสังเคราะห์เช่นเทวดาพลีคือปฏิบัติตนต่อเทวดาในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพิธีกรรมทางศาสนาเกือบทุกเจ้าพิธีอัญเชิญเทวดาจากทุกสารทิศมาร่วมพิธีเพื่อรับรู้รับฟังและขอให้ช่วยคุ้มภัยให้โชคลาภแก่ชีวิตทรัพย์สิน
เรื่องเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคล เพื่อให้ความกระจ่างแจ้งในประเด็นปัญหานี้ ตามหลักพระพุทธศาสนาสอนให้มนุษย์ทุกคนเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ในชีวิตที่แต่ละคนแต่ละท่านมีความสุข ความสำเร็จต่าง ๆ ล้วนเกิดจากเหตุที่เราประกอบขึ้น หาใช่เพราะเชื่อว่า “มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนบานศาลกล่าวแต่อย่างใดไม่”

  • บนบาน หมายถึง ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ, บนบาน ก็ว่า. (ข.).
  • ศาล หมายถึง (๓) น. ที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  • กล่าว หมายถึง (๑)  [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคำเท็จ

ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน บนบานศาลกล่าว ในประโยค

1. ศาลเจ้าแห่งนี้มีชาวบ้านไปกราบไหว้บูชาสักการะตลอดเวลาโดยเฉพาะมีการบนบานศาลกล่าวเป็นประจำ
2. การศึกษาวิจัยเรื่อง “การบนบาน บวงสรวง : แนวคิด หลักการและอิทธิพลต่อ. สังคมไทย” นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิด และประวัติความเป็นมาของการบนบาน บวงสรวงที่.
3. สิ่งที่น่าแปลก คือ ลูก ตะกร้อจำนวนมากที่ แขวนอยู่บนรั้ว ลูกกรงรอบๆ อุโบสถ ผู้คนบริเวณ นั้นอธิบายว่า เป็นลูกตะกร้อของผู้ ที่มาบนบานศาลกล่าวกับ “พี่จุก” “พี่แกละ” “พี่เปีย” ...
4. ความเชื่อ การบนบานและการใช้ของแก้บนผู้ที่มาแก้บนศาลเจ้าแม่นมสาว.
5. นครศรีธรรมราช พอเข้ามาในบริเวณวัดคนมากันเยอะมากๆเพราะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนส่วนใหญ่ไปด้วยพลังแห่งความศรัทธา ต่อไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ที่บนบานอะไรแล้วมักสำเร็จ.
6. บนบานศาลกล่าวเอาไว้ แล้วใครเล่าจะจำสิ่งนั้นได้ ไม่รู้ว่าสำเร็จไปแล้ว หรือยังไม่สำเร็จจนจำไม่ได้แล้วก็ตาม หรือแม้แต่อดีตชาติที่ผ่านมาก็หารู้ไม่ว่า "เราเคยไปบนบาน .
7. ตามความเชื่อที่มีมาแต่สมัยก่อน และได้มีการอนุรักษ์ดูแลรักษา ... เมื่อชาวบ้านมีความทุกข์ใจและได้มาบนบานต่อวินญาณบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าพ่อดงไม้งามความเชื่อเกี่ยวกับการแก้บนนี้ ...
8. ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกับความเชื่อและอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ความเชื่อเรื่องการบนบานศาลกล่าวก็อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน.
9. โดยคณะลูกศิษย์ที่บนบานศาลกล่าวแล้วประสบความสำเร็จก็มีการนำมหรสพลิเก ,หมอลำ มาแก้บนกับ “หลวงพ่อเกษร” ในปีนี้ด้วย ..
10. ศาลเจ้าพ่อนี้มีคนมากมายมาบนบานขอโชคลาภทุกวัน, ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คำมั่นว่าจะให้สิ่งของตอบแทนหรือทำตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสำเร็จ
11. จากการสอบถามชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับศาลเจ้าปู่หมวกคำและชาวบ้านที่มาแก้บนได้ความว่า เจ้าปู่หมวกคำศักดิ์สิทธิ์มาก เชื่อว่าท่านปกป้องคุ้มครองลูกหลานที่มาบนบานศาลกล่าวทุกคน.
12. การบนบานศาลกล่าว ถือเป็นการติดสินบนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา ถือเป็นพันธะสัญญาที่ต้องชดใช้ ส่วนเรื่องที่เราจะได้สิ่งที่บนไว้หรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับวาสนาและกรรมเก่าของตนเองด้วย.

อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔