-->

เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึงอะไร ?



เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หมายถึงอะไร ? สำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “อย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง” นั้นหมายถึง (สำ) ก. คัดค้านผู้ใหญ่ ผู้มีฐานะสูงกว่า หรือผู้มีอำนาจมากกว่าย่อมไม่สำเร็จ และอาจได้รับผลร้ายแก่ตัวอีกด้วย. อ้างอิงจาก  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔

สำนวน เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง ใช้ในการเปรียบเปรยถึงการที่จะพยายามเอาตัวเข้าแลกด้วยการคัดค้าน หรือไปขัดแย้งกับผู้ที่มีอำนาจมากกว่า มักจะไม่สำเร็จ และซ้ำร้ายภัยอาจจะมาถึงตัวได้เพราะว่าถ้าผู้มีอำนาจไม่ถูกใจ อาจะโดนทำร้าย หรือโดนโทษทัณฑ์ อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าทำถ้าไม่อยากเดือดร้อน เพราะทำอย่างไรคุณก็ไม่มีทางที่จะชนะคนที่มีทั้งอำนาจเงิน และอำนาจทหาร

ที่มาของสำนวน เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง มาจากการที่พยายามที่จะเอาไม้ซีกซึ่งหมายถึง ส่วนที่ผ่าครึ่งของท่อนไม้ ซึ่งมีความบางและเล็กกว่า พยายามที่จะเอาไปงัด ท่อนซุงที่มีน้ำหนัก และขนาดเยอะ สุดท้ายก็ไม่สามารถทำได้ และไม้ซีกที่เอาไปงัดนั้นก็อาจจะหักไปเลยนั่นเอง เปรียบเหมือนกับคนที่ไม่มีอำนาจ พยายามที่จะไปมีเรื่องกับผู้มีอำนาจ อาจจะโดนเก็บได้นั่นเอง


  • เอา หมายถึง  ก. พา, นำ, เช่น เอาตัวมา
  • ไม้ซีก หมายถึง น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออกโดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้
  • ไป หมายถึง ก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
  • งัด หมายถึง ก. ทำให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง
  • ซุง หมายถึง น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่โค่นแล้วตัดกิ่งก้านออกก่อนแปรรูป เช่น อย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง.

ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง ในประโยค

1. ท่านเป็นดาวรุ่งบารมีอิทธิพลความนิยมยังไม่ได้อยู่ในจุดพีคที่สุด เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงไม่ไหว ไปขัดกับเขาก็หมดโอกาสทำงานต่อเท่านั้นเอง ผมมโนเอาเองนะครับ
2. “คุณไม่ควรไปโต้แย้งเจ้านายในห้องประชุมอย่างนั้น เดี๋ยวก็โดนหมายหัวหรอก อย่า เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง .
3. เคยบอกกับข้าพเจ้าว่าอย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง ข้าพเจ้าไม่มีอำนาจที่จะไปสั่งให้เขาทำสิ่งใด ทั้งที่สิ่งที่ข้าพเจ้าเสนอไปก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เป็นความผิดของแต่ละบุคคล
4. ไชยาไม่ปลดผอ.องค์การเภสัชฯ พลิ้วไม่คิดเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง.
5. แต่เมื่อรัฐบาลจะเดินหน้าเก็บภาษีลาภลอยเพื่อหารายได้เพิ่มอีกก้อนโต ใครจะกล้าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง?? แต่อย่างน้อย ขอท้วงติงเสียหน่อย ดีกว่าปล่อยเลยตามเลย.
6. ก็ไม่ได้หยิ่งยโสอะไร และก็ไม่ใช่จะกลัวความสูง แต่เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง ก็รู้ว่าไร้ประโยชน์ ฉันขอเป็นสุขอยู่ในซอกอย่างเดิม ไม่คิดจะเติมให้มันเลิศหรู และฉันก็มีอย่างหนึ่งที่รู้
7. เขาเป็นลูกเจ้าของบริษัท แล้วคุณเป็นใครอย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงเลย ถ้ามัวแต่รั้นไปต่อกรกับเขา คุณเองนั่นแหละที่จะเจ็บตัว.
8. เหมือนเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง และไมโครซอฟต์ก็ก้าวช้าเกินกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ไวปานสายฟ้าแลบของตลาดมือถือ.
9. ผมว่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุงมันไม่คุ้มนะ โดยเฉพาะถ้าเราเป็นคนต่างถิ่นยิ่งแล้วไม่น่าเสี่ยงกับคนพวกนี้อนาคตเราอาจจะได้ดีกว่าพนักงานส่วนตำบล
10. แม้โบราณสอนว่าอย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง แต่ถ้าไม้ซีกหลาย ๆ อันมาร้อยรัดมัดเป็นหนึ่งเดียวก็อาจงัดไม้ซุงได้ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ แต่น้ำมากดับภูเขาไฟทั้งลูกก็ได้.