-->

กิ้งก่าได้ทอง หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





กิ้งก่าได้ทอง หมายถึงอะไร ?



กิ้งก่าได้ทอง หมายถึงอะไร ? สำนวนไทยที่กล่าวว่า อย่าทำตัวเป็น กิ้งก่าได้ทอง หมายถึง คนที่ได้ลาภยศแล้วทะนงตนลืมฐานะเดิม  ขยายความสำนวนไทยนี้หมายถึง คนที่ไม่มีความสำคัญ ไม่เคยมีสมบัติและไม่มีความคิดด้วย เมื่อได้รับลาภยศแม้เพียงเล็กน้อย ก็คิดว่าตนมีความสำคัญเหนือผู้อื่น เกิดความเห่อเหิมลืมตัวแสดงความเย่อหยิ่งจองหองวางท่าใหญ่โต คนเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รังเกียจของคนเป็นอันมาก

ที่มาของสำนวนนี้มาจาก “มโหสถชาดก” เป็นเรื่องราวครั้งที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น “มโหสถ” บัณฑิตเจ้าปัญญา รับราชการในพระเจ้าวิเทหราช ผู้เป็นราชาแห่งเมืองมิถิลา
โดยเนื้อเรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสอุทยานกับมโหสถ มีกิ้งก่าตัวหนึ่งเห็นทั้งคู่เดินมาด้วยกัน ก็ไต่ลงจากเสา มาทำท่าหมอบกราบอยู่เบื้องหน้าพระราชา
เมื่อพระราชาเห็นดังนั้นจึงตรัสถามมโหสถว่า กิ้งก่าทำอะไร มโหสถจึงตอบไปว่า กิ้งก่าตัวนี้มาถวายบังคม จะถวายตัวแก่พระราชา

พระเจ้าวิเทหราชเห็นว่า กิ้งก่าตัวนั้นเป็นกิ้งก่าแสนรู้ จึงตรัสว่าควรจะให้สิ่งตอบแทนกับมัน มโหสถจึงแนะนำให้พระราชาพระราชทานเนื้อให้มันกิน พระราชาจึงรับสั่งให้ราชบุรุษผู้เฝ้าอุทยานซื้อเนื้อมูลค่าครึ่งมาสก (หนึ่งมาสก มีค่าเท่ากับทองซึ่งน้ำหนักเท่าข้าวเปลือกสี่เมล็ด) มาให้มันกินทุกวัน เจ้ากิ้งก่ามีเนื้อกินทุกวัน ก็ทำความเคารพพระราชาและราชบุรุษเสมอ
ทว่าในวันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ ราชบุรุษจึงไม่อาจหาเนื้อให้มันกินได้ จึงนำเหรียญทองราคาครึ่งมาสกที่พระราชาพระราชทานเป็นค่าเนื้อนั้น ผูกไว้ที่คอมันแทน
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเจ้ากิ้งก่าก็คิดว่า ตนเองมีทรัพย์ คือเหรียญทอง เหมือนพระราชาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำความเคารพพระราชาหรือใครอีก จึงขึ้นไปชูคออยู่บนซุ้มประตูอุทยาน
วันหนึ่งพระราชามาประพาสสวนกับมโหสถอีกครั้ง พบเจ้ากิ้งก่าชูคออยู่บนซุ้มประตูอุทยาน ไม่ลงมาหมอบถวายบังคมเช่นเคย จึงไต่ถามราชบุรุษผู้เฝ้าสวน ได้ความว่าเมื่อเจ้ากิ้งก่าได้เหรียญทองไปแล้ว ก็ไม่ยอมทำความเคารพใครอีก
จึงจะประหารเจ้า กิ่งก่า แต่มโหสถทัดทานไว้ พระราชาจึงลงโทษด้วยการเลิกพระราชทานเนื้อให้มันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นที่มาของสำนวนไทยที่ว่า  กิ้งก่าได้ทองนั่นเอง

  • กิ้งก่า หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray)], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง.
  • ได้ หมายถึง ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูกได้แผล
  • ทอง หมายถึง น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า, เรียกเต็มว่า ทองคำ, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่น ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า (สังข์ทอง ตอนตีคลี)

ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน กิ้งก่าได้ทอง


  1. คนที่เหมือนข้าวเต็มรวง อยู่ที่ไหน ไม่ว่า ยืนหรือเดินหรือนั่ง ก็ล้วนงดงามน่าเลื่อมใส ใครที่ยังมีพฤติกรรมเป็นคางคกขึ้นวอ หรือกิ้งก่าได้ทอง ควรจะดูแบบอย่างนี้ไว้
  2. กิ้งก่าได้ทอง มีนิทานเรื่องหนึ่ง คือ กิ้งก่าได้ทอง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีความหมายว่า เย่อหยิ่งจองหองหรือลำพองตน ใช้ในการตำหนิติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น
  3. นางเอกดัง? ตีหน้าซื่อ.. ลับหลังเยอะสิ่ง หยิ่งกว่ากิ้งก่าได้ทอง อยู่วงการมายาขอบอกเลยว่า บางคนนะคร่ะ บางคนจริงๆ ก็เฟคทั้งต่อหน้าและลับหลัง แต่บางคนทั้งลับหลังและต่อหน้า น่ารักผุดๆก็ว่ากันไป.
  4. ฉันรู้สึกเหมือนเป็นกิ้งก่าได้ทองเพราะได้เครื่องมือสื่อสารล้ำสมัยมาแล้วกลับใช้ไม่เป็น สมัยที่คุณวินัยยังรุ่งเรืองมีคนแวะมาเยี่ยมเยียนตลอดเวลาตามลักษณะของร่มโพธิ์ร่มไทร
  5. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวส่วนหนึ่งจากการพูดคุยสนทนาของ เรื่อง ... คนหลงลืมตัวเป็นประเภทกิ้งก่าได้ทอง เป็นอึ่งอ่างพองลมกระทั่งตัวระเบิด .
  6. คางคกขึ้นวอ กิ้งก่าได้ทอง วัวลืมตีน กับการเลื่อนไหลทางสังคม ให้ความหมายว่า คนที่มีฐานะต้อยต่ำพอได้ดิบได้ดีมักแสดงกริยาอวดดีลืมตัว
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔